กศน.ตำบลน้ำก่ำ

.... เขื่อนน้ำก่ำตอนล่าง ยางพาราเขียวขจี มีปลาน้ำโขงเลิศรส ..... ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ กศน.ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม หมายเลขโทรศัพท์ 0879458992 อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ

การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ( กพช.)


เรื่องการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ( กพช.) 


         การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551เป็นการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายประชาชนทั่วไปที่ไม่อยู่ในระบบโรงเรียนโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมสติปัญญาและคุณภาพชีวิตที่ดีมีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดีและสามารถจัดการกับชีวิตชุมชนและสังคมได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภูมิใจในความเป็นไทยและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและสามารถบูรณาการความรู้มาใช้พัฒนาตนเองครอบครัวชุมชนสังคมและประเทศชาติ

         จากจุดหมายของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551ได้กำหนดสาระการเรียนรู้เป็น 5 สาระ ได้แก่ สาระทักษะการเรียนรู้ สาระความรู้พื้นฐาน สาระการประกอบอาชีพ สาระทักษะการดำเนินชีวิต สาระการพัฒนาสังคม และกำหนดให้ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตจำนวนไม่น้อยกว่า100ชั่วโมงเป็นเงื่อนไขในการจบหลักสูตรโดยเน้นให้ผู้เรียนนำข้อมูลความรู้และประสบการณ์มาฝึกทักษะการคิดการวางแผนปฏิบัติการที่จะส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการพัฒนาตนเองครอบครัวชุมชนและสังคมเพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข



หลักการ 

1. สถานศึกษาจัดให้ลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคเรียนแรกเพื่อทำความเข้าใจให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตจนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตสามารถเขียนโครงการและดำเนินการตามโครงการได้

2. สถานศึกษาให้ผู้เรียนเสนอโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับครูและทำกิจกรรมไม่น้อยกว่า100 ชั่วโมงโดยให้ผู้เรียนเสนอโครงการได้ตลอดเวลาในทุกภาคเรียนเมื่อมีการวางแผนประสานงานและมีความพร้อมจะจัดทำโครงการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางขั้นตอนที่สถานศึกษากำหนด

3. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นกิจกรรมที่มีเจตนารมณ์ให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองอยู่ตลอดเวลาอย่างหลากหลายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมสิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตของตนตลอดเวลาจึงต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความพร้อมความถนัดหรือตามความสนใจ

5. การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตจะปฏิบัติเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคลก็ได้

6. การประเมินค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประเมินจากการทำกิจกรรมที่ผู้เรียนเสนอโครงการไว้ในแต่ละภาคเรียนโดยเน้นการประเมินแบบมีส่วนร่วม

7. กิจกรรมที่ได้รับการประเมินค่าแล้วหากผู้เรียนประสงค์จะทำกิจกรรมในลักษณะเดิมอีกต้องเสนอโครงการใหม่ที่ชี้ให้เห็นพัฒนาการของกิจกรรม



วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์โดยฝึกทักษะการคิดการแก้ปัญหาและความมีเหตุผล

2. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัวชุมชนและสังคมทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม



องค์ประกอบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตประกอบด้วย

1. ความรู้พื้นฐาน เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขอบข่ายเนื้อหาเกี่ยวกับ

โครงสร้างและประโยชน์ของ กพช.
แนวทางพัฒนาตนเองครอบครัว ชุมชน สังคม
กระบวนการกลุ่ม
กระบวนการคิดเป็นทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
การประสานเครือข่าย
การเป็นผู้นำ ผู้ตาม
การวางแผนและประโยชน์ของการวางแผน
มนุษยสัมพันธ์
การเขียนโครงการ

2. กิจกรรมโครงการ

เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม



ลักษณะกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

ลักษณะการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองและครอบครัวโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เรียน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

- ด้านสุขภาพกาย/จิต เช่น โครงการ กศน.ไร้พุง

- ด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น โครงการสามัคคีสร้างสุขโครงการคุณธรรมนำชีวิตโครงการ1ตำบล1วัด - ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เช่น โครงการรู้รับรู้จ่ายรู้ได้รู้เก็บ

- ด้านการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาบุคลิกภาพ

- ด้านยาเสพติด เช่น โครงการครอบครัวอบอุ่น

- ด้านเพศศึกษา เช่น โครงการพ่อแม่รู้ใจวัยรุ่นรู้ทัน

- ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเช่นโครงการเตรียมตัวเตรียมใจรับภัยธรรมชาติฯลฯ



โดยต้องพิจารณาในประเด็นสำคัญๆดังนี้

1) ประโยชน์ที่ตนเอง/ครอบครัวได้รับเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้าง/พัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตให้ตนเอง/ครอบครัวอยู่ได้อย่างมีความสุข

2) การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัวเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วผู้เรียนและครอบครัวเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ

3)การใช้กระบวนการกลุ่มเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานมีการประสานงานความรับผิดชอบเสียสละและจิตบริการ

4) ความเหมาะสมในการใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามโครงการ

5) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ได้แก่ ความรู้แหล่งข้อมูล วัสดุ งบประมาณและการเลือกใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม ประหยัด

6) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นการคิดสิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง/ครอบครัว

2.กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนและสังคมโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น

- ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม เช่น โครงการอาสาสมัครลูกเสือ ยุวกาชาด/ชมรมอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน

- ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการลดโลกร้อนด้วยมือเราโครงการหน้าบ้านน่ามองโครงการอนุรักษ์ป่าไม้แม่น้ำลำคลอง

- ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมและประเพณี เช่น โครงการอนุรักษ์รักวัฒนธรรม

- ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ เช่น โครงการคลังสมองร่วมพัฒนาชุมชน

- ด้านประชาธิปไตย เช่น โครงการเรียนรู้ประชาธิปไตยใส่ใจรักษาสิทธิ

-ด้านการสนับสนุนส่งเสริมงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น โครงการบรรณารักษ์อาสา ฯลฯ

โดยต้องพิจารณาในประเด็นสำคัญๆดังนี้

1)ประโยชน์ที่ชุมชนและสังคมจะได้รับหรือเป็นบริการที่ช่วยส่งเสริมหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองการปกครองตลอดจนสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและอื่นๆที่ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศ

2) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วคนในชุมชนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือทั้งด้านความคิดแรงงานวัสดุอุปกรณ์และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

3)การใช้กระบวนการกลุ่มเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานการช่วยกันคิดการประสานงานและแบ่งความรับผิดชอบทำให้เกิดความสามัคคี เสียสละ จิตบริการ ตามวิถีประชาธิปไตย

4) การใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับกิจกรรมโครงการที่นำเสนอ

5) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ เช่น บุคลากร วัสดุ งบประมาณและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นไปอย่างประหยัดและประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

6) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นการคิดสิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์และทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนสังคมสิ่งแวดล้อมตลอดจนสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน





กระบวนการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)



1. ผู้เรียนลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

2. ครูให้ความรู้พื้นฐานและให้แนวทางการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

3. ผู้เรียนยื่นคำร้องขอทำกิจกรรมและเสนอโครงการตามแบบที่กำหนด

4. ประสานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

5. สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินโครงการ

6. ผู้เรียนดำเนินการตามโครงการที่ได้รับอนุมัติพร้อมบันทึกการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลโดยอยู่ในการกำกับดูแลของครูที่ปรึกษาโครงการ

7. คณะกรรมการประเมินโครงการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผล

8. ผู้เรียนจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาเมื่อสิ้นสุดโครงการ

9. คณะกรรมการประเมินค่าผลสำเร็จของโครงการเป็นจำนวนชั่วโมงกิจกรรม

10. สถานศึกษาและผู้เรียนบันทึกผลจำนวนชั่วโมงที่ทำกิจกรรม กพช. ไว้เป็นหลักฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น